บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

หลักสูตร 4 กายธรรมแบบดวงธรรม 1 ดวง

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เห็นดวงธรรมแล้ว ใจหยุดนิ่งดีแล้ว และเห็นดวงธรรมใสสะอาดบริสุทธิ์ จนกระทั่งสามารถต่อวิชชาให้สูงขึ้นได้  ก่อนการปฏิบัติธรรมควรมีการสวดมนต์ไหว้พระก่อน แต่ถ้าไม่สะดวกก็สามารถปฏิบัติธรรมได้เลย

วิธีปฏิบัติ

ให้ท่านทั้งหลายกำหนดเครื่องหมายขาวใส เหมือนกับเพชรเม็ดลูก ที่เจียระไนแล้ว ไม่มีขนแมว โตเท่แก้วตา น้อมเข้าไปฐานที่ 1  คือที่ ปากช่องจมูก ส่งใจสัมผัส นิ่ง ไปกลางดวงใส บริกรรมใจ สัม มา อะระ หัง” (3 ครั้ง)  นึก...ให้ดวงใสสว่างโชติ

ต่อไป...เลื่อนดวงนิมิตใสไปฐานที่ 2 คือที่ เพลาตา  ส่งใจสัมผัส นิ่ง ไปกลางดวงใส บริกรรมใจ  “สัม มา อะ ระ หัง” (3 ครั้ง)  นึก...ให้ดวงใสสว่างโชติ

ต่อไป...เลื่อนดวงนิมิตใสไปฐานที่ 3 คือที่ จอมประสาท ส่งใจสัมผัส นิ่ง ไปกลางดวงใส บริกรรมใจ สัม มา อะ ระ หัง” (3 ครั้ง)  นึก...ให้ดวงใสสว่างโชติ

ต่อไป...มองผ่านปากช่องลำคอ ลัดฐานลงไปฐานที่ 7 คือ ศูนย์กลางกาย ส่งใจสัมผัส นิ่ง ไปกลางดวงใส บริกรรมใจ “สัม มา อะ ระ หังตลอดไป  นึก...ให้ดวงใสสว่างโชติ

ต่อไป...ให้สมมุติใจของเราเป็นปลายเข็มเย็บผ้า เข็มเย็บผ้านั้นคือใจของเรา ส่งเข็มใจ นิ่ง ไปกลางดวงใส ท่องใจ หยุดในหยุด  นึก...ให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงใส

ส่งใจ นิ่ง ไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด  นึก...ให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป

เกิดกายธรรมเป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระโสดา

ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระโสดา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

มอง...เข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด

มอง...ผ่าน ปากช่องลำคอ ลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระโสดา ท่องใจ “หยุดในหยุดเห็นดวงธรรม

ส่งใจ นิ่ง ไปกลางดวงธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุดเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม

ส่งใจ นิ่ง ไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด นึก...ให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป

เกิดกายธรรมเป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระสกิทาคามี

ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระสกิทาคามี ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

มอง...เข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด

มอง...ผ่านปากช่องลำคอ ลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระสกิทาคามี ท่องใจ “หยุดในหยุด เห็นดวงธรรม

ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ หยุดในหยุดเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม

ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด  นึก...ให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป

เกิดกายธรรมเป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระอนาคามี

ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระอนาคามี ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

มอง...เข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด

มอง...ผ่านปากช่องลำคอลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระอนาคามี ท่องใจ “หยุดในหยุด เห็นดวงธรรม

ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ หยุดในหยุดเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม

ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด  นึก...ให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป

เกิดกายธรรมเป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 20 วา สูง 20 วา นั่งขัดสมาธิ อยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระอรหัตต์

ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระอรหัตต์ ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

มอง...เข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด

มอง...ผ่านปากช่องลำคอลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระอรหัตต์ ท่องใจ “หยุดในหยุดเห็นดวงธรรม

ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ หยุดในหยุดเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม

ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด  นึก...ให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป

เกิดกายธรรมเป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระอนาคามี

ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระอนาคามี ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

มอง...เข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด

มอง...ผ่านปากช่องลำคอลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระอนาคามี ท่องใจ “หยุดในหยุด เห็นดวงธรรม

ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ หยุดในหยุดเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม

ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด  นึก...ให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป

เกิดกายธรรมเป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระสกิทาคามี

ส่งใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระสกิทาคามี ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

เลื่อนใจมองเพลาตา ท่านหญิงมองข้างซ้าย ท่านชายมองข้างขวา ท่องใจ หยุดในหยุด

มอง...เข้าไปที่จอมประสาทในกะโหลกศีรษะของกายธรรม ท่องใจ “หยุดในหยุด

มอง...ผ่านปากช่องลำคอ ลัดฐานลงไปในท้องของกายธรรมพระสกิทาคามี ท่องใจ “หยุดในหยุด เห็นดวงธรรม

ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรม ท่องใจ หยุดในหยุดเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม

ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด  นึก...ให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป

เกิดกายธรรมเป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าไปทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระโสดา




5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:05

    ผมจักรพงศ์ครับ ที่พึ่งไปสอบเป็นวิทยากรมานั่นแหละครับ

    ตอนนี้ผมปฏิบัติมาเกือบจะสองเดือนแล้ว ยังมืดสนิท ไม่เห็นอะไรเลยแม้แต่นิมิต สงสัยว่าคงจะเป็นเพราะทำผิดวิธีกระมัง

    เลยขอถาม ดร. ดังนี้

    ๑) คำว่า "ส่งใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส" นี่ หมายความว่ายังไงหรือครับ แปลว่านึกให้เห็นภาพดวงใสเฉยๆ หรือว่าต้องนึกภาพว่าเราเข้าไปอยู่ข้างในดวงใส หรือว่าให้มองจุดศูนย์กลางดวงใสจากภายนอก
    หรือว่า แค่นึกให้ความรู้สึกทั้งหมดของเราไปอยู่ที่ดวงใส

    ๒) ลักษณะของดวงใสที่ฐานอื่นๆ รวมทั้งฐานที่ ๑ - ๒ - ๓ ควรจะเหมือนกับฐานที่ ๗ ที่เป็นมุมมองจากด้านบนลงมาหาดวงใสแบบตรงดิ่งด้วยหรือไม่ครับ

    ๓) จำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องพยายามนึกภาพดวงใสให้ครบดวง แจ่มชัด เพราะบอกตามตรงว่าผมลงทุนซื้อลูกมาเพ่งก็แล้ว ก็ยังจำภาพลูกแก้วไม่ได้เสียที พอพยายามจะนึกทีไรก็นึกไม่ออก ก็เลยต้องใช้จินตนาการนึกภาพดวงไฟ ขาวๆ สว่างๆ แทน ซึ่งก็นึกไม่ครบดวงเสียที ไม่ก็นึกได้แค่ลางๆเท่านั้น

    ๔) ถ้ามีวีดีทัศน์เป็นตัวอย่างช่วยให้นึกภาพออกด้วยจะดีมากเลยครับ ผมว่าคณะวิทยากรของเราน่าจะลองทำดูนะ อาจจะช่วยให้การสอนประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น โดยเฉพาะการสอนผู้ใหญ่หรือคนที่เป็นพวก "วิตกจริต (ไม่แน่ใจว่าที่ทำไปนี่ถูกหรือผิด)" ซึ่งตัวผมเองก็เป็นคนประเภทนั้น เห็นด้วยหรือไม่ครับ

    นี่ก็ลองผิดลองถูกมาหลายรอบแล้ว ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเสียที
    สงสารก็แต่จักรพรรดิในพระที่คุณลุงให้มา (ตลอดจนจักรพรรดิองค์อื่นๆ ที่มาร่วมสร้างบุญกุศลไปกับผม) นั่นแหละครับ ที่ต้องมาอยู่กับคนที่ยังไม่ก้าวหน้าแบบผม ท่านเลยยังไม่มีโอกาสได้มาโมทนาในบุญใหญ่ๆเลย เฮ้อ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. คุณทำใจให้นิ่งอยู่ที่ฐานที่ 7 อย่างเดียว

      ท่องไปด้วย ไม่ต้องไปสนใจว่า จะเห็นดวงใสอย่างไร

      ทำแค่นั้นแหละ

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ9 สิงหาคม 2556 เวลา 22:04

      ขอโทษที่ต้องถามอะไรโง่ๆซ้ำอีกครั้งนะครับ ดร.

      ไม่ต้องนึกนิมิตอะไรเลย แค่ทำใจให้นิ่งอยู่ที่ฐานเจ็ดเฉยๆ แล้วมันจะได้ผลจริงๆเหรอครับ

      วิธีการนี้ผมลองทำดู ก็ได้ผลค่อนข้างดี คือมันทำให้จิตผมดิ่งลงสู่สมาธิได้ (คือหวิวๆเหมือนจะตกเหว) ซึ่งอาการแบบนี้ผมไม่เคยเป็นมาก่อนเมื่อครั้งทำแบบนึกนิมิต แต่การสืบค้นข้อมูลจากเวปไซต์ของวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เขาบอกว่านิมิตเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

      ผมเลยไม่แน่ใจ ต้องมาถามซ้ำครับ (อย่าเล่นผมนะครับ ผมขวัญอ่อน)

      ลบ
  2. ขออนุญาตแสดงความเห็นนะครับ ผิดถูกประการใด อาจารย์ช่วยแนะด้วยครับ ผมว่าคุณจักรพงศ์ ลองตัดความลังเลสงสัยก่อนนะครับ แล้วเชื่อมั่นไปเลยว่าใช่ เพราะใจเป็นธาตุสำเร็จ ที่สำคัญอย่าวอกแวก ติดตามคำภาวนาและดวงแก้ว และอย่าเครียด ว่าต้องเห็นด้วยตาเนื้อ ต้องชัด ต้อง ใส ต้องสว่าง แรกๆ นึกตามที่อาจารย์ก่อน เหมือนคุณนึกภาพอะไรก็ได้ง่ายๆ เช่นหน้าคุณพ่อ คุณแม่ของเรา อย่าเผลอ อย่าเครียด ผมลองมาแล้ว โดยทบทวนขั้นตอนให้แม่นๆ แล้วลองเปิด youtube ที่อาจารย์ฝึกเด็กๆก็ได้ หลับตา ทำตามไปด้วย ทุกครั้งที่ทำมันจะดีขึ้นทุกครั้ง ถ้าใจไม่วอกแวกมันจะชัดขึ้นเอง ถ้าผมกล่าวมาผิดประการใด รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยครับ

    ตอบลบ
  3. ขออธิบายอย่างนี้

    คุณ sornsan s เขียนถูกต้องแล้ว คุณจักรพงษ์ก็ถูก

    คุณจักรพงษ์เป็นวิทยากรจึงอยากจะเห็นดวงธรรมหรือกายธรรมด้วย เพราะต้องออกไปสอน

    แต่ในความเป็นจริงไม่จำเป็น การที่ไปสอนวิทยากรผ่านแล้ว ก็สามารถไปสอนได้แล้ว

    วิชาธรรมกายที่่พัฒนาไปจนเท่าเทียมกับการศึกษาทางโลก คือ เมื่อผ่านการสอบแล้วก็สามารถทำหน้าที่ได้

    ตอบลบ